3.1 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของปะการังแข็ง

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของปะการังแข็ง (Asexual reproduction)     การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของปะการังมีหลายรูปแบบ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด ในแนวปะการังการสืบพันธุ์แบบนี้จะเป็นการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว การสืบพันธุ์ในรูปแบบนี้ จะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนเดิม ดังนั้นความสามารถในการปรับตัวเพื่อทนทานต่อสภาพแวดล้อม ที่รุนแรงจึงมีน้อย ลักษณะที่เป็น homogenous genotype ทำให้ประชากรแต่ละตัวจะมี fitness ต่ำ ดังนั้น ความสามารถในการอยู่รอดการปรับตัวจึงต่ำ นอกจากนั้นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมลดลง อย่างไรก็ตามในแนวปะการังส่วนมากจะพบการสืบพันธุ์ ในรูปแบบนี้เป็นหลัก โดยแบ่งออกเป็น 3 แบบ

1.Flagmentation โดยการแตกหักออกจากโคโลนีใหญ่ ปะการังจะสร้างเนื้อเยื่อใหม่อย่างรวดเร็ว ขึ้นมาแทนที่ ในบางพื้นที่ที่มีตะกอนมาก โอกาสในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ก็จะลดลงไปด้วย การแตกหักที่เกิดขึ้น มักจะเกิดขึ้นกับปะการังที่มีรูปร่างแบบกิ่งก้านมากกว่าแบบก้อน               
2.Budding  เป็นการแบ่งตัวออกภายในโคโลนีแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ Intratentacular budding เป็นการแยกตัวโพลิปใหม่ออกจากโพลิปเดิม โดยเกิดเป็น 2 หรือ 3 โพลิปใหม่ แต่ไม่มีผนังของตนเองอย่างสมบูรณ์ Extratentacular budding เป็นการแบ่งตัวที่เกิดขึ้นภายนอกโพลิปเดิมทำให้โพลิปใหม่ มีผนังของตัวเองชัดเจน
3.Polyp bail-out  ปะการังจะมีการปล่อยโพลิปออกมาในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะ หรือมีความเครียด เกิดขึ้น ซึ่งการสืบพันธุ์ในรูปแบบนี้จะมีน้อยชนิด     การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อขยายออกไปจากตัวเดิม ทำให้ก้อนปะการัง มีขนาดใหญ่ขึ้นและลงเกาะทับถมกันเป็นเวลานานนับร้อย ๆ ปี เป็นแนวหินปูนใต้น้ำเรียกว่า " แนวปะการัง" การเจริญเติบโต ปะการังบางชนิดมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10 ซม. ต่อปี ส่วนปะการังก้อน มีการเจริญเติบโตเฉลี่ย 1-2 ซม. ต่อปี ปะการังจะเติบโตได้ดีในน้ำทะเลที่ใสสะอาด ความเค็มคงที่ มีแสงสว่างส่องถึงระดับอุณหภูมิที่ 18-32 องศาเซลเซียส หากระบบนิเวศน์เสื่อมโทรมแนวปะการัง จะถูกทำลายกว่าจะฟื้นตัวได้ต้องใช้เวลานานหลายสิบปี


การเกิดการตั้งครรภ์

Mitosis